เซโตะและโทโคนาเมะแห่งเตาเผาอันเก่าแก่ทั้งหก – ช่างศิลป์สมัยใหม่ที่ดึงดูดความสนใจด้วยการผสมผสานความดั้งเดิมเข้ากับนวัตกรรมสมัยใหม่ | คอลัมน์ | Experiences in Aichi
โดยชินคันเซ็น (รถไฟหัวกระสุน)

  1. Home /
  2. คอลัมน์ /
  3. เซโตะและโทโคนาเมะแห่งเตาเผาอันเก่าแก่ทั้งหก – ช่างศิลป์สมัยใหม่ที่ดึงดูดความสนใจด้วยการผสมผสานความดั้งเดิมเข้ากับนวัตกรรมสมัยใหม่

เซโตะและโทโคนาเมะแห่งเตาเผาอันเก่าแก่ทั้งหก – ช่างศิลป์สมัยใหม่ที่ดึงดูดความสนใจด้วยการผสมผสานความดั้งเดิมเข้ากับนวัตกรรมสมัยใหม่

ทางเหนือของโอวาริ, จิตะ

เซโตะและโทโคนาเมะ ตัวแทนของแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาของประเทศ อีกทั้งได้รับเลือกเป็นแหล่งมรดกแห่งประเทศญี่ปุ่น

เซโตะ โทโคนาเมะ เอจิเซ็น ชิการะคิ ทัมบะ และบิเซ็น คือชื่อของเตาเผาอันเก่าแก่ทั้งหก ซึ่งเป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่ส่งต่อเทคนิคแบบโบราณของญี่ปุ่นตั้งแต่ยุคกลางมายังปัจจุบัน ตามที่เขียนไว้ในคอลัมน์ “ตกหลุมรักเตาเผาอันเก่าแก่ทั้งหก – แหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่ถือกำเนิดและพัฒนาในญี่ปุ่น” ความโดดเด่นของวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาที่หยั่งรากลึกใน 6 สถานที่นี้ ได้รับการยอมรับในฐานะแหล่งมรดกแห่งประเทศญี่ปุ่นเมื่อฤดูใบไม้ผลิ ปี 2017

เซโตะ รากแห่ง “เซโตะโมโน”

คำว่า “เซโตะโมโน” เป็นคำทั่วไปที่ใช้เรียกเครื่องเซรามิกในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งแสดงถึงความมีชื่อเสียงอย่างยาวนานของเมืองเซโตะในฐานะแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผา ในสมัยคามะคุระ ชิโระสะเอะมน คาเกะมะซะ คาโตะ ได้ศึกษาเทคนิคการทำเครื่องปั้นดินเผาจากประเทศจีนและสร้างเตาเผาแห่งแรกขึ้นที่เมืองเซโตะ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของเครื่องปั้นดินเผาเซโตะ อย่างไรก็ตาม บริเวณเตาเผาสมัยเฮอันที่ยังหลงเหลืออยู่สามารถย้อนกลับไปถึงจุดเริ่มต้นที่เก่าแก่กว่านั้นได้

นับแต่สิ้นสุดยุคเฮอันไปจนถึงยุคมุโระมาจิ เครื่องเซรามิกเคลือบสีเหลืองที่เป็นที่รู้จักในชื่อ “คิเสะโตะ” มีการผลิตเฉพาะในเตาเผาอันเก่าแก่ทั้งหกเท่านั้น และในยุคเอโดะ การผลิตเครื่องเคลือบได้เริ่มต้นขึ้นและทำให้ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในสถานที่ผลิตเซรามิกได้อย่างยอดเยี่ยมที่สุด

ผู้ชุบชีวิตเนริโคมิ “โทโมโระ มิสุโนะ”

เทคนิคศิลปะแห่งเซรามิกแบบดั้งเดิม “เนริโคมิ” ได้รับเลือกให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้แห่งเมืองเซโตะ เทคนิคนี้สัมพันธ์กับการนวดดินเหนียวหลากสีและเรียงตัวเป็นชั้นเพื่อสร้างลวดลายแบบเดียวกับวิธีการทำซูชิโรล โทโมโระ มิสุโนะ เป็นช่างปั้นหม้อหนุ่มที่มีผลงานการออกแบบอันน่ารักและล้ำสมัยที่ได้รับความสนใจจากต่างประเทศ โดยหนึ่งในเสน่ห์ของผลงานของเขาคือลวดลายที่ปรากฏเมื่อหั่นดินเหนียว ซึ่งออกมาแตกต่างไม่ซ้ำกันในแต่ละครั้ง รวมถึงความสนุกเมื่อได้เห็นผลงานที่เสร็จสมบูรณ์ของเขาที่ยิ่งทำให้รู้สึกเข้าถึงได้มากยิ่งขึ้น

นักทำเครื่องเคลือบราน “มิโฮะ ยานากิโมโตะ”

เครื่องเคลือบที่ถูกใช้ในร้านอาหารฝรั่งเศสชื่อดัง “ไกลซีน (Glycine)” ที่เปิดให้บริการที่หอส่งสัญญาณโทรทัศน์นาโกย่า เครื่องเซรามิกของยานากิโมโตะนี้ ทำขึ้นด้วยเทคนิค “เฮียวเร็ตสึ คันนิว” โดยการผสมผสานของอาหารฝรั่งเศสและเครื่องปั้นดินเผาเซโตะเริ่มต้นขึ้นเมื่อหัวหน้าเชฟบังเอิญพบเฟซบุ๊กของยานะกิโมะโตะ และเกิดความรู้สึกอยากลองจัดวางอาหารของเขาลงบนชุดเซรามิกมากมายหลายชนิดของเธอ

“เฮียวเร็ตสึ คันนิว” เป็นรูปแบบเทคนิคการทำรอยแตกที่เป็นผลจากความแตกต่างของอัตราหดตัวระหว่างตัวผลิตภัณฑ์และชั้นเคลือบ โดยหลังจากการเผาไฟ รอยแตกจะปรากฏบนพื้นผิวเคลือบระหว่างกระบวนการปล่อยให้เย็นอย่างช้าๆ รูปลักษณ์อันวิจิตรและโปร่งแสงราวกับรอยแตกของน้ำแข็งหรือกลีบกุหลาบที่ปรากฏบนเครื่องเซรามิกของยานากิโมโตะเป็นผลมาจากการปรับแต่งอย่างประณีตในการผสมดินโคลนและความหนาของชั้นเคลือบ

เจ้าแห่งแสงอันน่าพิศวง “ฮิโรชิ ทารุตะ”

ทารุตะ สร้างเครื่องเคลือบโดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า “โฮตะรุ” ซึ่งเป็นการประดับด้วยลวดลายสลักลงบนผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบและเติมชั้นเคลือบโปร่งแสงก่อนนำไปเผาไฟ เนื่องจากการออกแบบแบบโปร่งแสงที่ทำให้มองเห็นได้เมื่อมีแสงส่องผ่าน

เทคนิคนี้จึงนิยมใช้กับเครื่องเคลือบสีขาวเพื่อทำลวดลายวงกลมวงเล็กๆ จนดูราวกับไฟของหิ่งห้อย อย่างไรก็ตาม ผลงานของทารุตะยังรวมถึงการสลักลายเส้นโปร่งแสงลงบนเครื่องเคลือบเซลาดอน ทำให้เกิดความงามอันน่าพิศวงที่ดูราวกับลำแสงที่พุ่งออกมาจากรอยแยกของมวลเมฆ

นักศิลปะเอ็กซ์เพรสชันนิสม์แห่งสีน้ำเงินคราม “ชิสุกะ โมริโมโตะ”

เพื่อที่จะสร้างเครื่องเคลือบเซโตะสีน้ำเงินและขาวหรือ “โซเม็ตสึเกะยากิ” ลวดลายจะถูกวาดลงบนตัวเครื่องเคลือบซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินครามในภายหลัง หลังจากที่ตื่นตาตื่นใจไปกับความงามของเครื่องเซรามิกชนิดนี้ หากมองลึกลงไปในโลกแห่งโซเม็ตสึเกะยากิจะพบว่า โมริโมโตะรังสรรค์ผลงานด้วยเฉดสีม่วงหรือเขียวอันเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งเกิดจากการผสมเม็ดสี “โกซุ บลู” เข้ากับทองแดงหรือเหล็ก

ลายเส้นอันนุ่มนวลและลื่นไหลของพืชพรรณในผลงานการออกแบบของเธอทำให้เกิดความรู้สึกล้ำสมัยและมีสไตล์ โมริโมโตะทำงานอย่างหนักเพื่อผลิตชิ้นงานยุคใหม่อันมีชีวิตชีวาและสดใหม่อย่างต่อเนื่อง

เมื่อนึกถึงเซโตะ อย่าลืมนึกถึงเครื่องแก้วด้วยเช่นกัน
“เซโตะ คิริโกะ” ของ “มานะบุ ซากุจิ”

ลวดลายที่ถูกตัดแต่งอย่างมีชีวิตชีวาจากเส้นโค้งต่างๆ เป็นเอกลักษณ์ของ “เซโตะ คิริโกะ” แจกันดอกไม้หรือชุดสาเกไม่ว่าจะสีอ่อนหรือเต็มไปด้วยเฉดสีหลากหลายจะถูกสลักด้วยลวดลายอันต่างๆ เช่น ลายจุด ลายดอกไม้แบบจีน ลายยกดอก หรือลายอะราเบสก์ ที่เปล่งประกายท่ามกลางแสงไฟและส่องแสงระยิบระยับอย่างสวยงาม

ลองลงมือทำที่เซโตะ! สถานที่สร้างเสริมประสบการณ์

พิพิธภัณฑ์เซรามิกจังหวัดไอจิ

ลองทำเครื่องปั้นดินเผาด้วยการใช้แท่นหมุนสำหรับปั้นแบบใช้มือ และแต่งแต้มสีสันลงบนจานหรือถ้วยชาของท่าน โดยสามารถเลือกชนิดของเครื่องปั้นดินเผาจาก 2 ชนิด และชนิดของสีบิสก์จาก 9 ชนิด ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของพิพิธภัณฑ์เซรามิก เพื่อให้ได้ผลงานตามความต้องการทุกรูปแบบ

พิพิธภัณฑ์เซรามิกจังหวัดไอจิ
จัดแสดงเอกสารล้ำค่าที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ ประวัติศาสตร์ และอุตสาหกรรมแห่งเซรามิก พิพิธภัณฑ์เซรามิกจังหวัดไอจิ (หรือเดิมคือ ไอจิเคน โทจิ ชิเรียวคัน) เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ชั้นนำของประเทศญี่ปุ่นที่เชี่ยวชาญด้านเซรามิก!
ข้อมูลสถานที่ คลิกที่นี่ >>

ร้านจัดจำหน่ายเครื่องปั้นดินเผาเซโตะแบบล่าสุด

พิพิธภัณฑ์เซโตะกุระ และเซโตะกุระ เซรามิก พลาซ่า

เซโตะกุระ เซรามิก พลาซ่า ของ “เซโตะโมโน ช็อป” เปิดให้บริการอีกครั้งเมื่อเดือนมิถุนายน 2020 ร้านสำหรับจำหน่ายเครื่องเซรามิกที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีแห่งนี้ ปรับปรุงใหม่เพื่อให้เป็นสถานที่สำหรับถ่ายทอดผลิตภัณฑ์รุ่นล่าสุดของเซโตะไปสู่นักท่องเที่ยวที่มาเยือนเซโตะรวมถึงผู้ที่อาศัยในเมืองนี้

ทุกครั้งที่ท่านมาเยี่ยมเยือนที่นี่ ท่านจะได้ค้นพบสิ่งใหม่ๆ เช่น โซนที่สามารถค้นพบเสน่ห์น่าดึงดูดใจอันหลากหลายของเครื่องปั้นดินเผาเซโตะในขณะที่กำลังตามหาผลิตภัณฑ์แบบที่ท่านชอบที่สุด หรือโซนที่จัดจำหน่ายเครื่องปั้นดินเผาเซโตะตามฤดูกาลและเครื่องรางสำหรับชีวิตประจำวัน ไปพบและค้นหาผลิตภัณฑ์ที่ท่านชื่นชอบชิ้นใหม่ได้ที่นี่

บนชั้นสองและสามของเซโตะกุระคือพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเซรามิก โดยบริเวณชั้นสองจำลองเมืองในทศวรรษ 1950 และ 60 อย่างครบถ้วน ในขณะที่เดินไปชมทิวทัศน์ในอดีตของเมือง ก็อย่าลืมดูรายละเอียดกิจกรรมเวิร์คช็อปของเครื่องปั้นดินเผาเซโตะด้วยเช่นกัน

พิพิธภัณฑ์เซโตะกุระ และเซโตะกุระ เซรามิก พลาซ่า
เซโตะกุระอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวใจกลางเมืองเซโตะ สถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้เป็นที่ที่ทั้งชาวเมืองและนักท่องเที่ยวจำนวนมากต่างมารวมตัวกัน ซึ่งมีพิพิธภัณฑ์เซโตะกุระที่ท่านสามารถค้นพบทุกรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผาเซโตะ หอทสึบากิ ร้านค้า ห้องประชุม และอื่นๆ อีกมากมาย
ข้อมูลสถานที่ คลิกที่นี่ >>

โทโคนาเมะ เมืองแห่งกาน้ำชา “คิวซุ” และแมวกวัก “มาเนกิเนโกะ”

ด้วยประวัติศาสตร์ที่ย้อนไปได้ถึงช่วงสิ้นสุดยุคเฮอัน จึงว่ากันว่าโทโคนาเมะเป็นเมืองที่เป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่เก่าแก่ที่สุดและใหญ่ที่สุดในบรรดาเตาเผาอันเก่าแก่ทั้งหกแห่งญี่ปุ่น หม้อและเหยือกจำนวนมหาศาลของโทโคนาเมะถูกกระจายไปเป็นวงกว้าง ในขณะท่อน้ำดินเผาที่ผลิตขึ้นในยุคเมจิและไทโช เป็นผลิตภัณฑ์เซรามิกในทางสถาปัตยกรรมที่ช่วยให้ญี่ปุ่นก้าวไปสู่ยุคใหม่ นอกจากนี้

ผลิตภัณฑ์กาน้ำชาคิวซุซึ่งมีจุดเริ่มต้นในสมัยเอโดะยังคงเป็นตัวแทนของเครื่องปั้นดินเผาของโทโคนาเมะมาจนถึงทุกวันนี้ ส่วนผลิตภัณฑ์แมวกวักมาเนกิเนโกะก็ยังคงได้รับความนิยมในเมืองแห่งเครื่องปั้นดินเผาแห่งนี้เช่นกัน

ช่างเซรามิกแห่งโทโคนาเมะ “ฮารุโกะ ฮาระดะ”

เสน่ห์ในเซรามิกของฮาระดะอยู่ที่ประโยชน์ในการใช้สอยพร้อมกับรูปลักษณ์อันงดงามที่ทำให้เพลิดเพลินไปกับการใช้ในชีวิตประจำวัน ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นที่รักของแฟนๆ มากมาย ไม่ใช่เฉพาะในจังหวัดไอจิเท่านั้น แต่ยังรวมถึงแฟนๆ ทั่วทั้งประเทศญี่ปุ่น ระหว่างเทศกาลเครื่องปั้นดินเผาโทโคนาเมะประจำปี นักท่องเที่ยวต่างพากันต่อแถวยาวเหยียดเพื่อผลิตภัณฑ์เซรามิกนี้

ช่างหัตถศิลป์แห่งกาน้ำชาคิวซุ “ยูทาโระ ยามาดะ”

ช่างศิลปะในช่วงวัย 20 เพียงคนเดียวในเมืองโทโคนาเมะที่ทำกาน้ำคิวซุดั้งเดิม ด้วยการติดพวยกาเข้ากับตัวกาน้ำโดยใช้เทคนิค “ฮาเนะ” ทำให้กาน้ำแต่ละใบมีลักษณะเฉพาะตัว ส่วนรูของที่กรองชาอันสวยงามมีการใช้เทคนิคเฉพาะขั้นสูง โดยขนาดของรูจะเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับว่าที่กรองจะอยู่ที่จุดใด ซึ่งการออกแบบนี้ก็เพื่อควบคุมการไหลของน้ำร้อนขณะชงชา

การที่กาน้ำชามีน้ำหนักเบาไม่เหมือนกาน้ำชาคิวซุแบบดั้งเดิมเป็นจุดแข็งของกาน้ำชานี้ เพราะเมื่อชงชา กาน้ำชาจะมีน้ำหนักพอดีสำหรับถือไว้ในมือ นอกจากนี้ ยิ่งใช้กาน้ำชาคิวซุนานเท่าไร รสชาติของชาก็จะยิ่งนุ่มนวลมากขึ้นเท่านั้น

ผู้สืบทอดมรดกแห่งวัฒนธรรมและนวัตกรรมสมัยใหม่ “ยูจิ โคอิเอะ”

บริษัท ยามะเก็น โทเอ็น ทำการผลิตเครื่องปั้นดินเผาแบบด้วยวิธีดั้งเดิมนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทในปี 1967 โดยช่างฝีมือรุ่นที่สามอย่าง โคอิเอะ กรรมการบริษัท ได้เข้ามาดูแลเครื่องปั้นดินเผาโทโคนาเมะซึ่งแต่เดิมมักมีสีแดงสด และคิดค้นเครื่องเซรามิกที่มีสีอ่อนแบบพาสเทล “โทโคนาเมะ” มุ่งหวังที่จะเป็นแบรนด์ที่รักษาเทคนิคและองค์ประกอบของเครื่องปั้นดินเผาโทโคนาเมะไว้ไม่ให้สูญหาย อีกทั้งได้รับการยอมรับให้เป็นภาชนะบนโต๊ะอาหารที่ทันสมัย

นักมายากลแห่งเครื่องเคลือบเซรามิก “ชิโอริ มิโยชิ เจนเซ่น”

เจนเซ่น มีความเชี่ยวชาญในการเคลือบลงบนชิ้นงานสีอ่อนๆ ในขณะที่เครื่องปั้นดินเผาโทโคนาเมะมักมีสัมผัสของดินเหนียว แต่ผลงานของเจนเซ่นกลับโดดเด่นด้วยความโปร่งแสงสวยงามที่เกิดจากการซ้อนทับกันของชั้นเคลือบ ภาชนะบนโต๊ะอาหารสำหรับใช้ในชีวิตประจำวันนี้นำเสนอถึงความนุ่มนวลอ่อนโยนราวกับภาพสีน้ำ

ผู้สร้างโลกแห่งความมหัศจรรย์ “ฮิคาริ มะซุดะ”

ท่านอาจจะประหลาดใจว่าโลกอันน่ารักและทรงเสน่ห์ซึ่งสรรค์สร้างโดยมะซุดะ ถูกแปลงให้เป็นเครื่องเซรามิกสามมิติได้อย่างไร แต่ท่านอาจจะตกใจยิ่งกว่า หากทราบว่าเครื่องเซรามิกนี้ก็เป็นเครื่องปั้นดินเผาโทโคนาเมะเช่นกัน เครื่องปั้นดินเผาโทโคนาเมะชนิดนี้ทำขึ้นด้วยความรู้สึกเป็นอิสระ จึงทำให้ผลงานของมะซุดะมีเสน่ห์อันน่าพิศวงและโดดเด่นแปลกตา

พ่อมดแห่งสีเคลือบดำและเถ้าสีเขียว “โทคุตะ ฟุจิตะ”

ฟุจิตะ สร้างสรรค์ผลงานที่เป็นภาชนะบนโต๊ะอาหารแบบทันสมัยภายใต้ธีมสีพื้นอย่างสีดำหรือเทา สีที่เปลี่ยนแปลงระหว่างขั้นตอนการเผาไฟอันชวนให้นึกถึงคริสตัลยิ่งเพิ่มความงดงามลงบนชิ้นงานเซรามิกอันเป็นเอกลักษณ์ของเขา ด้วยน้ำหนักที่เบา ความรู้สึกสบายใจเมื่อสัมผัส และประโยชน์ใช้สอยอันหลากหลาย กาน้ำชาคิวซุโทโคนาเมะอันยอดเยี่ยมนี้ จะดึงรสอุมามิของชาออกมาเพื่อสร้างความนุ่มนวลในรสสัมผัส

ลองลงมือทำที่โทโคนาเมะ! สถานที่สร้างเสริมประสบการณ์

โทโคนาเมะสโตร์

เวิร์คช็อปทำเครื่องปั้นดินเผาของโทโคนาเมะสโตร์จะสร้างประสบการณ์การใช้เทคนิคที่เรียกว่า การขึ้นรูปแบบ “ทาทาระ” ซึ่งในขั้นตอนนี้ ดินเหนียวแผ่นหนาจะถูกเปลี่ยนรูปร่างด้วยการทำให้เรียบอย่างเบามือและสม่ำเสมอหรือด้วยการหั่นบางๆ สร้างชิ้นงานของท่านด้วยการเลือกสีและรูปทรงสุดท้ายของเครื่องปั้นดินเผาและลงมือตกแต่ง

และเนื่องจากผลิตภัณฑ์สามารถใช้ได้กับไมโครเวฟ เตาอบ หรือเครื่องล้างจาน ทำให้สะดวกสำหรับการใช้ในชีวิตประวัน

โทโคนาเมะสโตร์
ภายใต้หลังคากระเบื้องสีแดงของโกดังขนาดใหญ่ในเมืองโทโคนาเมะ มีตึกย่อยสามตึกที่แต่ละตึกถูกทาด้วยสีขาวสว่าง หนึ่งในนั้นคือ "สโตร์ - STORE" ที่บริษัท ยามะเก็น โทเอ็น วางจำหน่าย MOM คิทเช่น และผลิตภัณฑ์แบรนด์ “โทโคนาเมะ” รวมทั้ง ผลิตภัณฑ์วิชั่นกลาสซึ่งสามารถทนต่อความร้อนโดยตรงได้
ข้อมูลสถานที่ คลิกที่นี่ >>

พิพิธภัณฑ์ INAX

ณ เวิร์คช็อปการทำกระเบื้อง ท่านจะได้สัมผัสประสบการณ์การทำกรอบรูป แม่เหล็ก หรือสิ่งของอื่นๆ โดยใช้กระเบื้องสีสันสดใส ติดกระเบื้องด้วยกาวและสังเกตถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิงของสิ่งของต่างๆ เหล่านี้ ส่วนท่านที่มีทักษะระดับสูง ขอแนะนำกิจกรรม “แกลนซ์ โมเสค” ใหม่

ที่ท่านจะได้ลองเลือกและจับคู่กระเบื้องที่มีรูปทรง สี และความเป็นมันเงาที่แตกต่างกัน ตามลวดลายที่ท่านออกแบบสำหรับนำไปทำเป็นกระจกตั้งโต๊ะหรือถาดสำหรับเสิร์ฟอาหารว่าง

พิพิธภัณฑ์ INAX
INAX เป็นหนึ่งในแบรนด์ระดับโลกของ LIXIL และเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ผลิตเครื่องสุขภัณฑ์เซรามิกซึ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนทั่วโลก พิพิธภัณฑ์ INAX นำเสนอหลากหลายสิ่งที่น่าสนใจ รวมถึงกิจกรรมเวิร์คช็อปด้วยการใช้เทคนิคหัตถศิลป์ที่พัฒนาขึ้นที่เมืองโทโคนาเมะ
ข้อมูลสถานที่ คลิกที่นี่ >>

อย่าลืมเช็คที่คอลัมน์นี้!