ในตอนนี้ "เทศกาลงานแห่ยามะ โฮโกะ ยาไต" ความภาคภูมิใจของญี่ปุ่น ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของยูเนสโกแล้ว!
33 เทศกาลใน 18 จังหวัดของญี่ปุ่น จากโทโฮคุทางตอนเหนือไปถึงคิวชูทางตอนใต้:ไอจิกลายเป็นจังหวัด "เทศกาลงานแห่หมายเลขหนึ่ง" เนื่องจากมีเทศกาลซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนถึง 5 เทศกาล!
สำหรับคำถามที่ว่า"เทศกาลเหล่านี้มีความสำคัญอย่างไร?" และ "เทศกาลเหล่านี้มีอะไรบ้าง? เรามีคำตอบให้คุณที่นี่!
"มรดกทางวัฒนธรรม" เป็นคำที่เราได้ยินกันบ่อยครั้ง คำดังกล่าวนั้นหมายถึง การรับรองสิ่งก่อสร้างและซากปรักหักพังซึ่งมีคุณค่าสากล ตามที่ระบุไว้ในสนธิสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและมรดกทางธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบันในประเทศญี่ปุ่นมีปราสาทฮิเมจิ หมู่บ้านประวัติศาสตร์ชิราคาวะ-โกะและโกคายามะ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเส้นทางจาริกแสวงบุญในเทือกเขาคิอิ และสถานที่อื่นๆ อีกกว่า 20 แห่ง ที่เป็นมรดกโลก
ในขณะที่มรดกซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสากลมีรูปแบบที่ไม่เป็นรูปธรรม อย่างความบันเทิงและประเพณี เช่น ดนตรีและเพลงพื้นเมือง อุปนิสัยทางสังคม พิธีกรรม งานฝีมือแบบดั้งเดิม วัฒนธรรม ฯลฯ จะได้รับการรับรองว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมซึ่งไม่สามารถจับต้องได้ ในกรณีล่าสุดเมื่อปี 2013 วัฒนธรรมการรับประทานอาหารแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น หรือวาโชกุก็ได้รับการขึ้นทะเบียนโดยยูเนสโก
ในครั้งนี้ยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียน 33 เทศกาลจาก 18 จังหวัดของญี่ปุ่น โดยเรียกรวมกันว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมซึ่งไม่สามารถจับต้องได้ การขึ้นทะเบียนในครั้งนี้รวมถึง "ขบวนแห่ยามะโฮโกะของเทศกาลเกียวโตกิออน" และ "เทศกาลฮิตาชิ ฟุริวโมโนะ" ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนไปก่อนหน้านี้ โดยมีเป้าหมายเพื่อรวมกลุ่มเทศกาลต่างๆ เอาไว้ด้วยกัน เพราะเทศกาลทั้งหมดนี้ยังคงได้รับการจัดขึ้นทั่วประเทศจนถึงปัจจุบัน จึงมีการยื่นขอขึ้นทะเบียนเทศกาลต่างๆ รวมกัน เพื่อขยายการขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรม แม้จะเชื่อกันว่า เทศกาลกิออนของศาลเจ้ายาซากะในเกียวโต คือต้นกำเนิดของเทศกาลที่มีการใช้ขบวนแห่ต่างๆ แต่ก็เป็นที่รู้กันดีว่า "ขบวนแห่ยามะ โฮโกะ ยาไต" ได้แพร่กระจายไปทั่วญี่ปุ่น พร้อมความหลากหลายต่างๆเช่น ยามาโบโกะ ฮิกิยามะ คาซาโบโกะ ฯลฯ ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่าเทศกาลต่างๆ เหล่านี้ คือการสรรสร้างแบบดั้งเดิม และยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปมากนัก
"เทศกาลงานแห่ยามะ โฮโกะ ยาไต" เป็นประเพณีดั้งเดิม ที่ผู้คนจากแต่ละที่มารวมตัวกันแสดงวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาค เพื่อสืบสานเทศกาลดังกล่าว จึงได้มีการดำเนินการต่างๆ เกี่ยวกับการสืบทอดงานศิลปะ หรือการอนุรักษ์ทรัพย์สินทางวัฒนธรรม และการส่งต่อคุณค่าทางนามธรรม ฯลฯ เนื่องจากกิจกรรมที่กล่าวมานั้นล้วนแล้วแต่มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงชุมชนเข้าไว้ด้วยกันรุ่นแล้วรุ่นเล่า นอกจากนี้เทคนิคงานฝีมือแบบดั้งเดิม อย่างงานไม้ งานโลหะ การลงรัก การย้อม ฯลฯ ยังได้รับการอนุรักษ์ไว้ในขบวนแห่มานานหลายศตวรรษเพื่อให้คงเสน่ห์เอาไว้ ในทุกเทศกาลเราจะเห็นความละเอียดอ่อน และความเคารพที่มีต่อพิธีกรรม ซึ่งทำให้คนในชุมชนรู้สึกได้ว่าต้องทำการอนุรักษ์ และสืบสานเทศกาลต่างๆ อย่างยั่งยืนตราบนานเท่านาน
แสงสะท้อนของโคมไฟหลายร้อยดวงบนผืนน้ำ ที่มืดสนิท และสงบนิ่ง ช่วยเพิ่มความสวยงามอย่างหาที่เปรียบมิได้
เมืองสึชิมะ เมืองไอไซ
ในวันเสาร์ที่สี่ของเดือนกรกฎาคมของทุกปี (โย-ไซ วันก่อนเทศกาล นับจากเวลา 18.00 น.) และวันอาทิตย์ต่อมา (อาสะ-มัตสึริ เทศกาลช่วงเช้า นับจากเวลา 8.40 น.)
สวนเท็นโนกาวะ (การจัดงานท่ามกลางฝนพรำ)
เรือดันจิริในเทศกาลโอวาริ-สึชิมะ เท็นโน เทศกาลนี้ของศาลเจ้าสึชิมะ มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 600 ปี และติดอันดับหนึ่งในสามของเทศกาลริมแม่น้ำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศญี่ปุ่น มักมีการกล่าวบ่อยๆว่าเทศกาลนี้เป็นเทศกาลที่สวยงามที่สุด เมื่อเทียบกับเทศกาลฤดูร้อนอื่นๆ ซึ่งมีการจัดขึ้นทั่วประเทศ
สิ่งปลูกสร้างรูปทรงโดมได้รับการตกแต่งด้วยโคมไฟจำนวน 365 ดวง ซึ่งแต่ละดวงเป็นตัวแทนของแต่ละวันในหนึ่งปี อย่างไรก็ตามปกติมักมีการประดับโคมไฟจำนวน 400-420 ดวง เพื่อให้เป็นรูปทรงกลมที่สวยงาม ส่วนโคมไฟจำนวน 12 หรือ 13 ดวงที่ลอยขึ้นไปบนท้องฟ้าจะหมายถึงจำนวนเดือนของปี ภายใต้โดมสีเหลืองส้ม ใกล้กับสถานที่ซึ่ง "ชิโกะ" หรือเด็กวัดนั่งอยู่ จะมีการตกแต่งโคมไฟจำนวน 30 ดวงหรือมากกว่านั้นเพื่อเป็นตัวแทนของจำนวนวันในแต่ละเดือน การประดับไฟและการแขวนโคมไฟนั้นถือได้ว่าเป็นการแสดงฝีมือช่างซึ่งควรค่าแก่การรับชมเป็นอย่างยิ่ง! นอกจากนี้ช่วงเวลาที่มีการจัดงาน ผู้เข้าชมยังสามารถเพลิดเพลินไปกับกิจกรรมอื่นๆ เช่น การแสดงดอกไม้ไฟที่สวยงามซึ่งจะประทับอยู่ในความทรงจำแบบไม่รู้ลืม
หนึ่งเดียวในญี่ปุ่น! การแสดงละครหุ่นโจรุริ ที่เปิดการแสดงในขบวนแห่เทศกาล
เมืองชิริว
เทศกาลชิริวซึ่งได้รับการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันที่ 2 พฤษภาคม (ชิกาคุ วันก่อนเทศกาล) และวันที่ 3 พฤษภาคม (ฮอนราคุ วันเทศกาลหลัก)
ขบวนแห่การแสดงบันราคุในวันฮอนราคุ ภายในบริเวณศาลเจ้าชิริว
ขบวนแห่ซึ่งมีความสูงถึง 7 เมตร และมีน้ำหนักกว่า 5 ตันต่อขบวน ได้นำมาจากห้าเมือง ในเทศกาลฮอน-มัตสึริซึ่งจัดทุกสองปีนั้น หลังจากขบวนแห่ได้แห่ไปยังถนนต่างๆ พร้อมเสียงของดนตรีในเทศกาลที่เรียกว่า "คามิมาอิ" เพื่อไปเคาะชายคาของบ้านแต่ละหลัง ก่อนที่จะตรงไปที่ศาลเจ้า จากนั้นจะมีการแสดงบันราคุและคาราคุริขึ้น
บันราคุหรือที่เรียกว่าโจรุริ ละครหุ่นซึ่งแสดงโดยคนเชิดหุ่นสามคน มักเปิดแสดงในที่ต่างๆ ทั่วประเทศ รวมถึงเปิดการแสดงในเทศกาลซึ่งจัดขึ้นเฉพาะที่เมืองชิริวเท่านั้น ยามะ-บันราคุนั้นมีมาตั้งแต่สมัยเอโดะ และมีอายุยาวนานกว่า 260 ปี ปัจจุบันขบวนแห่สี่ขบวน จากเขตต่างๆ ในนิชิ, ยามะ, นาคาจิน และทาการะ จะเปิดการแสดงแบบคลาสสิก เช่น ซันบาโซะ, เคอิเซอิ-อานะ-โนะ-นารุโตะ, สึโบซากะ คันนอน เรอิเจนกิ, ชินเรอิ ยากุชิ-โนะ-วาตาชิ ฯลฯ
"สิ่งที่ละครหุ่นคาราคุริต่างไปจากภูมิภาคอื่นๆ ก็คือหุ่นของชิริวไม่ได้ทำมาจากช่างฝีมือคาราคุริ แต่มักจะทำขึ้นโดยคนในพื้นที่ ซึ่งจะนำชิ้นส่วนที่เป็นไม้ เศษผ้า และวัสดุอื่นๆ มาประกอบเข้าด้วยกัน นอกจากนี้แทนที่จะใช้สปริง แต่หุ่นของชิริวมักจะแสดงโดยใช้สาย ดังนั้นหุ่นแต่ละตัวอาจต้องใช้คนเชิดถึง 10 คนตามแต่การแสดง ซึ่งถือว่าเป็นความร่วมมือร่วมใจที่น่าทึ่งเป็นอย่างมาก "
ขบวนแห่ 13 ขบวน ซึ่งได้รับการตกแต่งอย่างวิจิตรบรรจง เป็นภาพที่งดงามอย่างน่ามหัศจรรย์!
เมืองอินุยามะ
เทศกาลนี้ได้รับการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันเสาร์และวันอาทิตย์แรกของเดือนเมษายน
การจัดงานซึ่งถือเป็นพิธีกรรมตามปกติของศาลเจ้าชิริว เทศกาลนี้เริ่มมาจากสมัยเอโดะ (ศตวรรษที่ 17) และดาวเด่นของเทศกาลนี้ก็คือ ขบวนแห่ที่สวยงามจำนวน 13 ขบวน ทั้งนี้เทศกาลนี้ถือเป็นเทศกาลเดียวในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีการเปิดแสดงละครหุ่นโจรุริและคาราคุริในขบวนแห่
ขบวนแห่ที่สวยสดงดงามจำนวนสิบสามขบวน ทุกขบวนจะมีสามชั้น เพื่อให้สามารถเปิดการแสดงละครหุ่นคาราคุริ ซึ่งได้รับการสืบทอดมาตั้งแต่สมัยเอโดะได้ ขบวนแห่จะแห่ไปพร้อมกับเสียงขลุ่ยและเสียงเพลงไทโกะ และมีภาพของดอกซากุระเป็นฉากหลัง ในตอนกลางคืน ขบวนแห่ทั้งหมดจะผ่านไปตามถนนต่างๆ ผ่านเมืองปราสาท โดยที่ในแต่ละขบวนนั้นจะประดับไปด้วยโคมไฟสว่างไสวจำนวนนับไม่ถ้วน
"มัติสึริ โอโกโตะ"หรือเทศกาลของสมาชิกสมาคมอาชีพ เป็นเทศกาลที่พวกเขาร่วมแรงร่วมใจกันในการยกและหมุนขบวนแห่ที่หนักกว่า 5 ตันไปในทิศทางต่างๆได้ เมื่อการแห่สิ้นสุดลงแล้วอย่างสวยงาม ประชาชนที่มาชมก็จะส่งเสียงร้องด้วยความสุขใจ!
การจัดการเปลี่ยนทิศทางอีกอย่างหนึ่ง ก็คือการดันขบวนแห่ไปด้านข้าง ซึ่งจะทำให้ล้อลากส่งเสียงดังกังวาน เสียงดังกล่าวจะเกิดขึ้นที่แต่ละมุมถนนของเส้นทางที่จะมุ่งตรงไปยัง ด้านหน้าของปราสาทอินุยามะ
ขบวนแห่ห้าขบวนซึ่งแกะสลักอย่างสวยงาม และธงซึ่งได้รับการตกแต่งอย่างวิจิตรถูกแห่ไปตามชายหาด!
เมืองฮันดะ
วันแรก (วันซ้อมใหญ่): วันที่ 3 พฤษภาคม (วันหยุด) ไคฮิน-ฮิคิโอโรชิ (แห่เข้าไปในหาด) ในเวลา 10.30 น.
วันที่สอง (วันจัดงานหลัก): วันที่ 4 พฤษภาคม (วันหยุด) ไคฮิน-ฮิคิโอโรชิ (แห่เข้าไปในหาด) ในเวลา 14.00 น.
เทศกาลนี้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีมานานกว่า 300 ปี บนพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเชื่อว่า เป็นสถานที่ที่จักรพรรดิจินมูผู้ยิ่งใหญ่ขึ้นฝั่งมาจากคิวชู ระหว่างที่กำลังเดินทางไปทางตะวันออกเพื่อประกาศอำนาจอธิปไตย ด้วยเหตุนี้ เทศกาลคาเมะซากิ ชิโอฮิ จึงได้รับการจัดขึ้น เพื่อระลึกถึงความยิ่งใหญ่ของจักรพรรดิ และอำนาจอย่างหากที่เปรียบมิได้ของมนุษย์!
ฮิคิโอโรชิซึ่งถือเป็นจุดไคลแม็กซ์ของเทศกาล จะเกิดขึ้นเมื่อขบวนแห่ได้รับการแห่ไปที่ชายหาด: ผู้ชายหลายร้อยคนสวมชุดท้องถิ่นซึ่งประดับด้วยตราของแต่ละสมาคม จะดันและดึงเกวียนขนาดใหญ่ไปที่ชายทะเล โดยใช้เชือกหรือมือเปล่า เพื่อแสดงให้เห็นถึงพละกำลัง
สิ่งที่จะได้ชมก็คือ การแกะสลักไม้สีขาวที่ทรงพลัง โดยช่างฝีมือผู้มีชื่อเสียง ซึ่งได้รับการสืบทอดมาจากปลายสมัยเอโดะจนถึงช่วงต้นของสมัยเมจิ รูปปั้น "ริคิจิน" ซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้แข็งแกร่งบน "ดันบาโกะ" คือสิ่งที่คุณจะต้องไม่พลาดชมอย่างเด็ดขาด!
มีชื่อเสียงเรื่องการแสดงหุ่นคาราคุริ ซึ่งเปิดแสดงทั้งที่ด้านหน้าและด้านหลัง หรือในขบวนแห่ หุ่นกระบอก "คาอิราอิชิ" ของขบวนแห่คากุระ-การุมะนั้น ถือได้ว่าเป็นชิ้นงานพิเศษจากทาเคดะ คาราคุริซึ่งมีคุณค่าสูงสุด
เรือฟางมากิวาระบุเนะในวันก่อนเทศกาลและเทศกาลดันจิริ การจัดงานซึ่งยาวนานถึง 100 วัน!
เมืองคานิเอะ
เทศกาลนี้ได้รับการจัดขึ้นทุกปี ในวันเสาร์และวันอาทิตย์แรก ของเดือนสิงหาคม
ไปตามแม่น้ำคานิเอะกาวะ ระหว่างสะพานคาซาริบาชิกับสะพานเท็นโนบาชิ
เทศกาลซูนาริ มัตสึริ เป็นเทศกาลซึ่งได้รับการจัดขึ้นร่วมกันระหว่างศาลเจ้าโทมิโยชิ-ทาเตฮายะและศาลเจ้าฮักเคน-ชะ พิธีกรรมต่างๆ จะได้รับการดำเนินการในช่วงเวลา 100 วันหรือก่อนหน้าที่จะถึงวันเทศกาลหลัก ดังนั้นเทศกาลนี้จึงได้รับการเรียกขานว่าเป็น "เทศกาล 100 วัน" ในวันก่อนเทศกาลหรือโยอิ-มัตสึรินั้น เราจะได้เห็นเรือฟางซึ่งประดับประดาไปด้วยโคมไฟรูปทรงแคปซูล จากนั้นในช่วงเช้าของเทศกาล เรือที่ได้รับการประดับด้วยตุ๊กตาทากาซาโกะและนักดนตรีในเทศกาลฮายาชิจะตรงไปที่แม่น้ำ
หลังการเตรียมการเสร็จสิ้นลงที่ศูนย์กลางของชุมชน เรือซึ่งประดับไปด้วยโคมไฟรูปทรงแคปซูลจะออกเดินทางจากสะพานคาซาริบาชิเพื่อตรงไปยังสะพานเท็นโนบาชิ พร้อมกับเสียงดนตรีของงานเทศกาล ที่กลางทางเรือจะหยุดที่สะพานมิโยชิบาชิ และจะรอจนกระทั่งสะพานได้รับการยกขึ้นเพื่อออกเดินทางต่อไป นี่เป็นเพียงช่วงเวลาเดียวของปีที่สะพานนี้จะเปิดใช้งาน เมื่อเรือมาถึงที่สะพานเท็นโน จะมีการโยนโคมไฟสีแดงและขนมโมจิซึ่งใช้ในการตกแต่งเรือให้แก่ฝูงชนที่มาร่วมงาน
เมื่อการตกแต่งเปลี่ยนจากมากิวาระบุเนะไปเป็นดันจิริบุเนะ กิ่งก้านของดอกไม้ก็ถูกนำมาใช้แทนโคมไฟ เรือจะได้รับการจัดการโดยเด็กวัดหรือที่เรียกว่า "ชิโกะ" ที่สะพานคาซาริบาชิ จากนั้นเรือจะมุ่งตรงไปที่สะพานเท็นโนบาชิ ซึ่งผู้ที่โดยสารบนเรือจะขึ้นฝั่งไปเข้าร่วมในขบวนแห่ และตรงไปยังศาลเจ้าตามเสียงของดนตรี
เมื่อบทเพลงเท็นโน ฮายาชิจบลง ทุกคนจะกลับไปที่ศาลเจ้า จากนั้นกิ่งก้านของดอกซากุระและดอกบ๊วยที่ใช้ตกแต่งเรือจะถูกรวบรวม สวดให้พรและโยนให้ฝูงชนที่มาร่วมงาน เนื่องจากเชื่อกันว่าการตกแต่งบ้านด้วยกิ่งก้านดังกล่าว จะช่วยป้องกันฟ้าผ่าและช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ได้